การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา (Nonphamacologic Treatment)
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาไม่ใช่จะก่อให้เกิด ความปลอดภัยเสมอไป
ในภายหน้าการรักษาด้วยยา
อาจเป็นเพียงการเยียวยาและ ปกติต้องรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยาโดยเฉพาะ ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ได้รับคำรับรองแล้ว ได้แก่
การลดน้ำหนัก
จำกัดโซเดียม
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม
การออกกำลังกายแบบ isotonic
และการรักษาความเครียด
คณะกรรมการค้นหา ประเมินผล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้เสนอแนะดังนี้
1. ลดน้ำหนักลง 15% ของน้ำหนักที่พึงปรารถนา (desirable weight)
2. จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 ออนซ์ต่อวัน (วิสกี้ 2 ออนซ์ ไวน์ 8 ออนซ์ หรือเบียร์ 24 ออนซ์ )
3. จำกัดโซเดียม 1.5 ถึง 2.5 กรัม/วัน (เกลือ 4 ถึง 6 กรัม)
.1 การลดน้ำหนัก (Weight Management) ประสิทธิภาพของการลดน้ำหนักได้ผลดีในกลุ่ม
mild และ severe hypertension น้ำหนักที่ลดลงเป็นผลมาจากการจำกัดพลังงาน
ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเมตาบอลิสม เช่น ลดการทำงานของ SNS
ที่มีบทบาทสำคัญในระบบความดันโลหิต
เป้าหมายในเรื่องนี้ก็คือบุคคลที่มีประวัติในครอบครัว ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
ควรจะลดน้ำหนักลง 15%
จากรายงานของ McCaron และ Reusser ได้กล่าวว่าในคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะก้ำกึ่ง
ถ้าลดน้ำหนัก 4 - 5 กก. มีผลทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงเป็นปกติภายใน 2 - 3 อาทิตย์แรก
ความดันโลหิตลดลง
ในกลุ่มที่ลดน้ำหนักไม่เกี่ยวข้องกับสารอาหารที่บริโภค แต่มีความเกี่ยวข้องกับพลังงานที่ใช้ในช่วงที่
พยายามลดน้ำหนัก ในคนที่มีน้ำหนักเกินนั้นการที่ระดับความดันโลหิตลดลง
ปรากฎร่วมกับน้ำหนักที่หายไปอาจเกิดจากการ ดูแลให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
(regular exercies regimen)
2 การจำกัดโซเดียม (Sodium Restriction) การจำกัดโซเดียมเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ประมาณหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่ง ที่เป็นพวก salt-sensitive จึงเป็นข้อจำกัดหนึ่งในการดูแลรักษา
เป็นการยากที่จะทำนายว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะตอบสนอง ต่อการจำกัดโซเดียม ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่จำกัดโซเดียมแล้วความดันโลหิตไม่ได้ลดลง
Levey และคณะ ศึกษาระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยการให้โซเดียมต่ำ
ร่วมกับการให้แคลเซียมที่แตกต่างกัน การศึกษาเป็นแบบการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นชายผิวขาวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่สูบบุหรี่ มีอาชีพทำงานประเภทนั่งโต๊ะ ทำการทดลองเป็น 2 ช่วง (ช่วงละ 6 สัปดาห์) ช่วงแรกให้ high
calcium (1,400 มก/วัน) ช่วงหลังให้ low calicium (400 มก/วัน) ทั้ง 2 ช่วงได้รับโซเดียม 1,500
มก/วัน หลังจากนั้นมีการวัดความดันโลหิต ปัสสาวะ blood electrolyte, calcitrol, renin และระดับ
parathyroid hormone (PTH) ผลจากการทดลองพบว่าโซเดียมในซีรัมลดลง โซเดียมในปัสสาวะลดลง
ในช่วงได้รับ low calcium ระดับ PTH ลดลงในช่วงได้รับ high calcium และเพิ่มในช่วงได้รับ low
calcium ทั้ง 2 ช่วง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับ calcitriol ในช่วงได้รับ low calcium
ความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงร้อยละ 8 และ 9 ตามลำดับ ในขณะที่ช่วง ได้รับ high calcium
ความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงร้อยละ 2 และ 3 ตามลำดับ
ผลการศึกษาแสดงเห็นว่ามีความสัมพันธ์ทางลบระหว่าง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของ Na :Ca กับการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ผู้วิจัยเสนอแนะว่าทางด้าน dietary management
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงการบริโภค เช่น ให้โซเดียม 1,000 มก/วัน
และเพิ่มแคลเซียม 400 มก/วัน มากกว่าที่จะสนใจเฉพาะระดับของโซเดียมและแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียว
การศึกษาโดยโซเดียมคงที่แต่มีการเปลี่ยนปริมาณแคลเซียม ทำให้ดูผลเหมือนแคลเซียมต่ำจะดีกว่าแคลเซียม
สูง ในการลดความดันโลหิต ผู้ศึกษาควรจะเปลี่ยนแปลงปริมาณทั้งโซเดียมและแคลเซียม เพื่อให้เกิดอัตรา
ส่วนที่คล้ายกับทั้งสองอัตราส่วน จากนั้นจึงดูว่าระดับความดันโลหิตเป็นอย่างไร
ที่มา การรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา - การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา
การรักษา โรคความดันโลหิตสูง โดยไม่ใช้ยา
เขียนโดย
Social Media News
on วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
ความดันโลหิตสูง
/
Comments: (1)
สาธารณสุขยะลาเตือนภัย 6 โรคมากับน้ำท่วม
เขียนโดย
Social Media News
on วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
โรคมากับน้ำท่วม,
สาธารณสุขจังหวัด
/
Comments: (0)
สาธารณสุขยะลาเตือนภัย 6 โรคมากับน้ำท่วม: "นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลาเตือนประชาชนระวังภัย 6 โรคตามมาภายหลังน้ำท่วม ‘โรคฉี่หนู อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบ ตาแดงและไข้เลือดออก’ สั่งการให้ทุกเครือข่ายบริการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาฟรี และให้ความรู้การป้องกันโรคแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลา พบน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอยะหา รามัน กรงปินัง ธารโต บันนังสตา และอำเภอเมืองยะลา จึงได้สั่งการให้เครือข่ายบริการในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมและ ภายหลังน้ำลด โดยเน้น 6 โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบ ตาแดง และไข้เลือดออก และให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยฟรีพร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค และป้องกันการเสียชีวิตหลังเจ็บป่วย ซึ่งเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในจังหวัด ได้เตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ ยา สำหรับดูแลผู้ประสบภัย อย่างครบถ้วนเพียงพอ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ยังกล่าวเตือนและขอความร่วมมือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังอีกว่า ห้ามถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำอย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้น้ำสกปรก เสี่ยงเกิดโรคระบาดได้ง่ายโดยเฉพาะโรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคตับอักเสบ รวมทั้งโรคตาแดง หากส้วมใช้การไม่ได้ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือที่เรียกว่าส้วมมือถือ และทิ้งขยะลงในถุงดำหรือถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้มิดชิดป้องกันแมลงวันตอม ก่อนนำไปทำลาย อีกทั้งสิ่งที่ผู้ประสบภัยขาดแคลนในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ก็คือน้ำดื่ม น้ำใช้ จึงขอให้ดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีตราอย.หรือดื่มน้ำต้มสุก กินอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ส่วนน้ำใช้นั้น สามารถนำน้ำท่วมมาปรับสภาพให้สะอาดและใช้ได้ โดยใช้สารส้มและคลอรีนเม็ด ใช้กับน้ำ 1 โอ่งมังกรใหญ่ โดยใช้สารส้มแกว่งน้ำให้ตกตะกอนก่อน และใส่คลอรีนเม็ด 1 เม็ด เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จะทำให้น้ำสะอาดเท่าน้ำประปา อีกทั้ง ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด โดยจะต้องสวมรองเท้าเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการเหยียบเศษวัสดุของมีคม ทำให้เป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู
นายแพทย์สวัสดิ์กล่าวอีกว่านอกจากโรคระบาดดังกล่าวแล้ว เรื่องอุบัติเหตุ อุบัติภัย ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน ได้แก่การป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด จากปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกชื้น อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ที่อาจจะหนีน้ำมาหลบอยู่ในบริเวณบ้าน รวมทั้งการลื่นล้มและการพลัดตกน้ำจมน้ำ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบเล่นน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงต้องระมัดระวังคอยดูแลเป็นพิเศษ."
นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลา พบน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอยะหา รามัน กรงปินัง ธารโต บันนังสตา และอำเภอเมืองยะลา จึงได้สั่งการให้เครือข่ายบริการในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มากับน้ำท่วมและ ภายหลังน้ำลด โดยเน้น 6 โรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบ ตาแดง และไข้เลือดออก และให้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยฟรีพร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค และป้องกันการเสียชีวิตหลังเจ็บป่วย ซึ่งเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในจังหวัด ได้เตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ ยา สำหรับดูแลผู้ประสบภัย อย่างครบถ้วนเพียงพอ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ยังกล่าวเตือนและขอความร่วมมือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังอีกว่า ห้ามถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำอย่างเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้น้ำสกปรก เสี่ยงเกิดโรคระบาดได้ง่ายโดยเฉพาะโรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคตับอักเสบ รวมทั้งโรคตาแดง หากส้วมใช้การไม่ได้ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงถุงดำหรือถุงพลาสติก หรือที่เรียกว่าส้วมมือถือ และทิ้งขยะลงในถุงดำหรือถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้มิดชิดป้องกันแมลงวันตอม ก่อนนำไปทำลาย อีกทั้งสิ่งที่ผู้ประสบภัยขาดแคลนในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ก็คือน้ำดื่ม น้ำใช้ จึงขอให้ดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีตราอย.หรือดื่มน้ำต้มสุก กินอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ส่วนน้ำใช้นั้น สามารถนำน้ำท่วมมาปรับสภาพให้สะอาดและใช้ได้ โดยใช้สารส้มและคลอรีนเม็ด ใช้กับน้ำ 1 โอ่งมังกรใหญ่ โดยใช้สารส้มแกว่งน้ำให้ตกตะกอนก่อน และใส่คลอรีนเม็ด 1 เม็ด เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จะทำให้น้ำสะอาดเท่าน้ำประปา อีกทั้ง ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด โดยจะต้องสวมรองเท้าเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากการเหยียบเศษวัสดุของมีคม ทำให้เป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ โดยเฉพาะโรคฉี่หนู
นายแพทย์สวัสดิ์กล่าวอีกว่านอกจากโรคระบาดดังกล่าวแล้ว เรื่องอุบัติเหตุ อุบัติภัย ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน ได้แก่การป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด จากปลั๊กไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกชื้น อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมลงป่อง ที่อาจจะหนีน้ำมาหลบอยู่ในบริเวณบ้าน รวมทั้งการลื่นล้มและการพลัดตกน้ำจมน้ำ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ชอบเล่นน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงต้องระมัดระวังคอยดูแลเป็นพิเศษ."
รักษาโรค ที่แพร่เชื้อโดยยุง
เขียนโดย
Social Media News
on วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
ที่แพร่เชื้อโดยยุง,
พาหะนำโรค,
รักษาโรค
/
Comments: (0)
วิทยาศาสตร์ในข่าว – โรคที่แพร่เชื้อโดยยุง
นพรัตน์ พันธุ์แสง – แปล
จาก VOANews.com – Science in the News – Diseases Spread by Mosquitoes
http://www.voanews.com/specialenglish/Archive/a-2005-01-25-2-1.cfm
เขียนบทโดย แนนซี สไตน์บัค
เผยแพร่บทและกระจายเสียงในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2005
รายการประจำสัปดาห์นี้ของเรา คือ โรคที่แพร่เชื้อโดยยุง – แมลงที่คนเกลียดมากที่สุดในโลก
ยุงเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มีมากกว่า 2,000 ชนิดแตกต่างกัน ยุงตัวเมียกัดคนเพื่อดื่มเลือด
ยุงตัวผู้ไม่ดื่มเลือด พวกมันดื่มน้ำจากต้นไม้ต่างๆ
ยุงตัวเมียใช้ท่อดูดเลือดลักษณะบางและยาวของมันแทงเข้าไปในผิวหนังเพื่อหาเลือด
ท่อเหมือนเข็มนั้นจะปล่อยสารเข้าไปในร่างกายของเหยื่อเพื่อให้เลือดไหลเข้าท่อได้
ยุงตัวเมียดื่มเลือดและใช้เลือดเพื่อผลิตไข่ของมัน การดูดเลือดครั้งหนึ่งจะได้เลือดเพียงพอที่จะผลิตไข่ได้มากถึง
250 ฟอง แล้วยุงก็จะวางไข่ในน้ำนิ่ง
ไข่จะกลายเป็นตัวอ่อนในเวลา 2 วันถึง 2-3 เดือน แต่บางทีไข่ก็สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นปีๆจน
ถึงสภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาต่อไป ตัวอ่อนเหล่านั้นเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตในน้ำ หลังจากนั้น 4-10 วัน
มันจะกลายเป็นลูกน้ำ ต่อมา ลูกน้ำก็ลอยสู่ผิวน้ำ แล้วพัฒนาเป็นตัวยุงบินได้ในที่สุด
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยุงทำให้เกิดโรคและทำให้ผู้คนถึงแก่ความตายทั่วโลกนับล้านคน ทั้ง
นี้เป็นเพราะยุงเป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆได้ อย่างไรก็ดี เชื้อโรคกลับไม่เป็นอันตรายต่อตัวยุงเอง
เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกเปิดเผยถึงความห่วงใยต่อการแพร่ระบาดของโรค
ภายหลังเกิดเหตุธรณีวิบัติภัยครั้งร้ายแรงในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2004
แผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนถึงหลักแสน คลื่นยักษ์ทำลายหมู่บ้านต่างๆและก่อให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง
เจ้าหน้าที่เตือนว่าสภาพน้ำท่วมขังสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากมายซึ่งแพร่เชื้อโดยยุง
โรคร้ายแรงที่สุดที่ยุงเป็นพาหะ คือ มาลาเรีย (Malaria) <ควรออกเสียงภาษาอังกฤษว่า มาแลเรีย – ผู้แปล> ผู้คนมากกว่า 3 ล้านคนได้รับเชื้อโรคนี้ในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งล้าน
คนทุกปี โรคนี้พบในแอฟริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้
เชื้อมาลาเรียเข้าสู่เลือดของมนุษย์เมื่อถูกยุงกัด เชื้อจะเดินทางเข้าสู่ตับและเจริญเติบโตขยายผลที่นั่น
หลังจาก 1-2 สัปดาห์ เชื้อโรคก็จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และแพร่ขยายเป็นพันๆเท่า ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีไข้สูง
รวมทั้งทำลายอวัยวะสำคัญของร่างกาย ผู้ที่รับเชื้อมาลาเรียจะเกิดอาการไตวาย หรือการทำงานของเม็ดเลือดแดงล้มเหลว
ยาบางชนิดสามารถป้องกันและรักษาไข้มาลาเรียได้ ยาเหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตในร่างกายคน
ยาที่ใช้ป้องกันมาลาเรียมากที่สุดคือ ตัวยาคลอโรควิน เมโฟลควิน และด็อกซิไซคลิน
คนเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรีย เพราะพวกเขาไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้าเกินไป เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขใช้ความพยายามมากขึ้นเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้
ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะ
ยุงสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่แตกต่างกันได้ และยุงสามารถแพร่เชื้อโรคสู่บริเวณใหม่ๆได้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่พบเชื้อไข้เลือดออกก่อนปี 1970
แต่หลังจากนั้น เชื้อโรคนี้ได้แพร่ระบาดไปมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
องค์การอนามัยโลกแจ้งว่า มีผู้เป็นไข้เลือดออกประมาณ 50 ล้านคนในแต่ละปี
โรคนี้ยังไม่มีตัวยารักษาได้ เด็กๆอาจได้รับเชื้อและมีอาการไม่รุนแรงมาก อาจมีไข้สูง ผิวหนังเกิดเม็ดผื่นแดง
ผู้สูงอายุกว่าจะมีอาการรุนแรงมากกว่า อาจมีเม็ดผื่นที่ผิวหนังและสูญเสียความรู้สึกด้านรสชาติ
อาจมีอาการปวดศีรษะมาก หรือปวดตา ปวดข้อกระดูก ไหล่หรือเข่า อาการปวดที่ข้อกระดูกนี้เป็นเหตุให้โรคไข้เลือดออกถูกเรียกว่า
ไข้ปวดกระดูก (breakbone fever) ด้วย
เชื้อไข้เลือดออกที่ร้ายแรงที่สุดคือ สายพันธุ์ dengue hemorrhagic fever ผู้ได้รับเชื้อนี้จะมีเลือดออกจากจมูกและส่วนอื่นๆของร่างกาย
ผู้รับเชื้อจะตายถึง 5% การรักษาพยาบาลทำได้เพียงควบคุมการไหลของเลือด และชดเชยการสูญเสียน้ำของร่างกาย
ไข้เหลือง (Yellow fever) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ยุงนำมา และยังไม่มียาที่ต่อต้านโรคนี้ได้ผล บรรดาแพทย์เพียงหวังว่า
ภูมิคุ้มกันของคนไข้จะแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับโรคได้ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า มีผู้รับเชื้อโรคนี้ประมาณ 200,000 รายต่อปี
ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา ตอนเหนือของอเมริกาใต้ และเกาะต่างๆในทะเลแคริบเบียน
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุของไข้เหลือง ในระยะเวลา 2-3 วันหลังจากถูกยุงกัด ผู้รับเชื้อจะมีไข้สูง ปวด
ศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจมีอาเจียน ส่วนใหญ่คนไข้จะอาการดีขึ้นภายหลัง 3-4 วัน
อย่างไรก็ดี 15% ของผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะมีไข้สูงอีก ร่างกายซีดเหลือง มีเลือด
ออกจากจมูก ปาก ตา หรือกระเพาะอาหาร ครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอาการเช่นนี้จะเสียชีวิตภายใน 10-14 วัน
มีวัคซีนป้องกันไข้เหลือง วัคซีนช่วยเพิ่มพลังให้ระบบป้องกันของร่างกายได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
วัคซีนปลอดภัยและได้ผลดีมาก ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนสามารถใช้ได้ผลอย่างน้อย 10 ปี หรือตลอดชีวิต
ยุงเป็นพาหะนำโรคลิมแฟติก ฟิลาเรียซิส หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคเท้าช้าง (Elephantia-
sis) มีผู้เป็นโรคนี้มากกว่า 120 ล้านคน หนึ่งในสามของผู้ได้รับเชื้อโรคนี้อยู่ในประเทศอินเดีย อีกหนึ่งใน
สามอยู่ในทวีปแอฟริกา ที่เหลือพบในเขตเอเชียตอนใต้ เขตมหาสมุทรแปซิฟิก หรือซีกโลกตะวันตก
ยุงกัดและแพร่เชื้อโรคนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะได้รับเชื้อมาตั้งแต่วัยเด็ก เด็กๆจำนวนมากไม่รู้ลักษณะหรืออาการของโรค
เมื่อได้รับเชื้อสู่ร่างกายแล้ว มันจะค่อยๆทำลายระบบน้ำเหลืองและการทำงานของไต
อาการของโรคเท้าช้างที่เลวร้ายที่สุดปรากฏในวัยผู้ใหญ่ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการที่
พบคือการสูญเสียพลังแขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ มียาสองชนิดที่ใช้ได้ผลในการรักษาโรคนี้ ผู้เชี่ยวชาญ
บอกว่าการรักษาความสะอาดบริเวณที่ได้รับเชื้อ ช่วยลดความสูญเสียพลังและลดอาการของโรคได้
ยังมีเชื้อโรคอีกอย่างหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะนำมา คือ โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) เชื้อโรคนี้เป็นเหตุให้สมองอักเสบหรือบวม
เชื้อไวรัสหลากหลายชนิดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองอักเสบลักษณะต่างๆกัน ไวรัสชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในนกและม้า ส่วนยุงเป็นพาหะนำมาสู่คน
ยุงในประเทศต่างๆของทวีปเอเชียแพร่เชื้อโรคนี้ เรียกว่า Japanese encephalitis และมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้แล้ว
เชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้แก่ เวสต์ไนล์ เซนต์หลุยส์ และอิสเทิร์นอีควีน
ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนใหญ่หากได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวก็จะไม่มีอาการ หรืออาจเจ็บป่วยแค่ 1-2 วัน แต่ผู้ที่มีระบบป้องกันโรคที่
อ่อนแอโดยธรรมชาติ เมื่อได้รับเชื้อนี้จะมีอาการรุนแรง มีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น และถึงตายได้
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้ศึกษาเรื่องของยุงมากมาย เช่น ยุงสามารถรับรู้กลิ่นคาร์บอนไดออกไซด์ที่คน
หรือสัตว์หายใจออกมาได้ไกลถึง 60 เมตร ยุงชอบเลือดสัตว์มากกว่าเลือดคน
ยุงชอบสีทึบหรือมืด ยุงไม่กัดสตรีที่กำลังมีรอบเดือน แต่ยุงกัดสตรีมีครรภ์ ยุงหลายชนิดกระฉับ
กระเฉงมากที่สุดในตอนเช้าตรู่และหัวค่ำ และยุงส่วนใหญ่กินอาหารตอนกลางคืน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคที่ยุงเป็นพาหะ คือ ไม่ให้ยุงกัด
มีวิธีมากมายที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด อย่าให้มีแอ่งน้ำนิ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน
เก็บภาชนะทุกอย่างซึ่งอาจเป็นที่เพาะพันธุ์ยุง อยู่ในที่ที่ป้องกันยุงได้ยามที่ยุงออกหากิน สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย
วิธีอื่นๆเพื่อป้องกันยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุงบนผิว ที่เสื้อผ้า และที่นอน กับติดตั้งตาข่าย
กันยุงที่หน้าต่างหรือกางมุ้งในตอนกลางคืน
นพรัตน์ พันธุ์แสง – แปล
จาก VOANews.com – Science in the News – Diseases Spread by Mosquitoes
http://www.voanews.com/specialenglish/Archive/a-2005-01-25-2-1.cfm
เขียนบทโดย แนนซี สไตน์บัค
เผยแพร่บทและกระจายเสียงในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2005
รายการประจำสัปดาห์นี้ของเรา คือ โรคที่แพร่เชื้อโดยยุง – แมลงที่คนเกลียดมากที่สุดในโลก
ยุงเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มีมากกว่า 2,000 ชนิดแตกต่างกัน ยุงตัวเมียกัดคนเพื่อดื่มเลือด
ยุงตัวผู้ไม่ดื่มเลือด พวกมันดื่มน้ำจากต้นไม้ต่างๆ
ยุงตัวเมียใช้ท่อดูดเลือดลักษณะบางและยาวของมันแทงเข้าไปในผิวหนังเพื่อหาเลือด
ท่อเหมือนเข็มนั้นจะปล่อยสารเข้าไปในร่างกายของเหยื่อเพื่อให้เลือดไหลเข้าท่อได้
ยุงตัวเมียดื่มเลือดและใช้เลือดเพื่อผลิตไข่ของมัน การดูดเลือดครั้งหนึ่งจะได้เลือดเพียงพอที่จะผลิตไข่ได้มากถึง
250 ฟอง แล้วยุงก็จะวางไข่ในน้ำนิ่ง
ไข่จะกลายเป็นตัวอ่อนในเวลา 2 วันถึง 2-3 เดือน แต่บางทีไข่ก็สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นปีๆจน
ถึงสภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาต่อไป ตัวอ่อนเหล่านั้นเติบโตเป็นสิ่งมีชีวิตในน้ำ หลังจากนั้น 4-10 วัน
มันจะกลายเป็นลูกน้ำ ต่อมา ลูกน้ำก็ลอยสู่ผิวน้ำ แล้วพัฒนาเป็นตัวยุงบินได้ในที่สุด
องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยุงทำให้เกิดโรคและทำให้ผู้คนถึงแก่ความตายทั่วโลกนับล้านคน ทั้ง
นี้เป็นเพราะยุงเป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆได้ อย่างไรก็ดี เชื้อโรคกลับไม่เป็นอันตรายต่อตัวยุงเอง
เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกเปิดเผยถึงความห่วงใยต่อการแพร่ระบาดของโรค
ภายหลังเกิดเหตุธรณีวิบัติภัยครั้งร้ายแรงในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2004
แผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนถึงหลักแสน คลื่นยักษ์ทำลายหมู่บ้านต่างๆและก่อให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง
เจ้าหน้าที่เตือนว่าสภาพน้ำท่วมขังสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากมายซึ่งแพร่เชื้อโดยยุง
โรคร้ายแรงที่สุดที่ยุงเป็นพาหะ คือ มาลาเรีย (Malaria) <ควรออกเสียงภาษาอังกฤษว่า มาแลเรีย – ผู้แปล> ผู้คนมากกว่า 3 ล้านคนได้รับเชื้อโรคนี้ในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหนึ่งล้าน
คนทุกปี โรคนี้พบในแอฟริกา เอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้
เชื้อมาลาเรียเข้าสู่เลือดของมนุษย์เมื่อถูกยุงกัด เชื้อจะเดินทางเข้าสู่ตับและเจริญเติบโตขยายผลที่นั่น
หลังจาก 1-2 สัปดาห์ เชื้อโรคก็จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และแพร่ขยายเป็นพันๆเท่า ทำให้ร่างกายของมนุษย์มีไข้สูง
รวมทั้งทำลายอวัยวะสำคัญของร่างกาย ผู้ที่รับเชื้อมาลาเรียจะเกิดอาการไตวาย หรือการทำงานของเม็ดเลือดแดงล้มเหลว
ยาบางชนิดสามารถป้องกันและรักษาไข้มาลาเรียได้ ยาเหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตในร่างกายคน
ยาที่ใช้ป้องกันมาลาเรียมากที่สุดคือ ตัวยาคลอโรควิน เมโฟลควิน และด็อกซิไซคลิน
คนเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรีย เพราะพวกเขาไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาช้าเกินไป เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขใช้ความพยายามมากขึ้นเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้
ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะ
ยุงสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่แตกต่างกันได้ และยุงสามารถแพร่เชื้อโรคสู่บริเวณใหม่ๆได้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่พบเชื้อไข้เลือดออกก่อนปี 1970
แต่หลังจากนั้น เชื้อโรคนี้ได้แพร่ระบาดไปมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก
องค์การอนามัยโลกแจ้งว่า มีผู้เป็นไข้เลือดออกประมาณ 50 ล้านคนในแต่ละปี
โรคนี้ยังไม่มีตัวยารักษาได้ เด็กๆอาจได้รับเชื้อและมีอาการไม่รุนแรงมาก อาจมีไข้สูง ผิวหนังเกิดเม็ดผื่นแดง
ผู้สูงอายุกว่าจะมีอาการรุนแรงมากกว่า อาจมีเม็ดผื่นที่ผิวหนังและสูญเสียความรู้สึกด้านรสชาติ
อาจมีอาการปวดศีรษะมาก หรือปวดตา ปวดข้อกระดูก ไหล่หรือเข่า อาการปวดที่ข้อกระดูกนี้เป็นเหตุให้โรคไข้เลือดออกถูกเรียกว่า
ไข้ปวดกระดูก (breakbone fever) ด้วย
เชื้อไข้เลือดออกที่ร้ายแรงที่สุดคือ สายพันธุ์ dengue hemorrhagic fever ผู้ได้รับเชื้อนี้จะมีเลือดออกจากจมูกและส่วนอื่นๆของร่างกาย
ผู้รับเชื้อจะตายถึง 5% การรักษาพยาบาลทำได้เพียงควบคุมการไหลของเลือด และชดเชยการสูญเสียน้ำของร่างกาย
ไข้เหลือง (Yellow fever) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ยุงนำมา และยังไม่มียาที่ต่อต้านโรคนี้ได้ผล บรรดาแพทย์เพียงหวังว่า
ภูมิคุ้มกันของคนไข้จะแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับโรคได้ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า มีผู้รับเชื้อโรคนี้ประมาณ 200,000 รายต่อปี
ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา ตอนเหนือของอเมริกาใต้ และเกาะต่างๆในทะเลแคริบเบียน
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุของไข้เหลือง ในระยะเวลา 2-3 วันหลังจากถูกยุงกัด ผู้รับเชื้อจะมีไข้สูง ปวด
ศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาจมีอาเจียน ส่วนใหญ่คนไข้จะอาการดีขึ้นภายหลัง 3-4 วัน
อย่างไรก็ดี 15% ของผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะมีไข้สูงอีก ร่างกายซีดเหลือง มีเลือด
ออกจากจมูก ปาก ตา หรือกระเพาะอาหาร ครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอาการเช่นนี้จะเสียชีวิตภายใน 10-14 วัน
มีวัคซีนป้องกันไข้เหลือง วัคซีนช่วยเพิ่มพลังให้ระบบป้องกันของร่างกายได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
วัคซีนปลอดภัยและได้ผลดีมาก ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนสามารถใช้ได้ผลอย่างน้อย 10 ปี หรือตลอดชีวิต
ยุงเป็นพาหะนำโรคลิมแฟติก ฟิลาเรียซิส หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคเท้าช้าง (Elephantia-
sis) มีผู้เป็นโรคนี้มากกว่า 120 ล้านคน หนึ่งในสามของผู้ได้รับเชื้อโรคนี้อยู่ในประเทศอินเดีย อีกหนึ่งใน
สามอยู่ในทวีปแอฟริกา ที่เหลือพบในเขตเอเชียตอนใต้ เขตมหาสมุทรแปซิฟิก หรือซีกโลกตะวันตก
ยุงกัดและแพร่เชื้อโรคนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะได้รับเชื้อมาตั้งแต่วัยเด็ก เด็กๆจำนวนมากไม่รู้ลักษณะหรืออาการของโรค
เมื่อได้รับเชื้อสู่ร่างกายแล้ว มันจะค่อยๆทำลายระบบน้ำเหลืองและการทำงานของไต
อาการของโรคเท้าช้างที่เลวร้ายที่สุดปรากฏในวัยผู้ใหญ่ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการที่
พบคือการสูญเสียพลังแขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ มียาสองชนิดที่ใช้ได้ผลในการรักษาโรคนี้ ผู้เชี่ยวชาญ
บอกว่าการรักษาความสะอาดบริเวณที่ได้รับเชื้อ ช่วยลดความสูญเสียพลังและลดอาการของโรคได้
ยังมีเชื้อโรคอีกอย่างหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะนำมา คือ โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) เชื้อโรคนี้เป็นเหตุให้สมองอักเสบหรือบวม
เชื้อไวรัสหลากหลายชนิดเป็นสาเหตุให้เกิดโรคสมองอักเสบลักษณะต่างๆกัน ไวรัสชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ในนกและม้า ส่วนยุงเป็นพาหะนำมาสู่คน
ยุงในประเทศต่างๆของทวีปเอเชียแพร่เชื้อโรคนี้ เรียกว่า Japanese encephalitis และมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้แล้ว
เชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ได้แก่ เวสต์ไนล์ เซนต์หลุยส์ และอิสเทิร์นอีควีน
ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนใหญ่หากได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวก็จะไม่มีอาการ หรืออาจเจ็บป่วยแค่ 1-2 วัน แต่ผู้ที่มีระบบป้องกันโรคที่
อ่อนแอโดยธรรมชาติ เมื่อได้รับเชื้อนี้จะมีอาการรุนแรง มีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น และถึงตายได้
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้ศึกษาเรื่องของยุงมากมาย เช่น ยุงสามารถรับรู้กลิ่นคาร์บอนไดออกไซด์ที่คน
หรือสัตว์หายใจออกมาได้ไกลถึง 60 เมตร ยุงชอบเลือดสัตว์มากกว่าเลือดคน
ยุงชอบสีทึบหรือมืด ยุงไม่กัดสตรีที่กำลังมีรอบเดือน แต่ยุงกัดสตรีมีครรภ์ ยุงหลายชนิดกระฉับ
กระเฉงมากที่สุดในตอนเช้าตรู่และหัวค่ำ และยุงส่วนใหญ่กินอาหารตอนกลางคืน
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคที่ยุงเป็นพาหะ คือ ไม่ให้ยุงกัด
มีวิธีมากมายที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด อย่าให้มีแอ่งน้ำนิ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน
เก็บภาชนะทุกอย่างซึ่งอาจเป็นที่เพาะพันธุ์ยุง อยู่ในที่ที่ป้องกันยุงได้ยามที่ยุงออกหากิน สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย
วิธีอื่นๆเพื่อป้องกันยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุงบนผิว ที่เสื้อผ้า และที่นอน กับติดตั้งตาข่าย
กันยุงที่หน้าต่างหรือกางมุ้งในตอนกลางคืน
รักษาโรค ด้วยการดื่มน้ำ จากคำบอกเล่า
เขียนโดย
Social Media News
on วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
ดื่มน้ำ รักษาโรค
/
Comments: (0)
ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของผู้ที่ได้ผ่านการทดลองดื่มมาแล้ว
1. ผู้เขียนได้พบกับผู้ชราที่มีสุขภาพอย่างสมบูรณ์ ได้ทักทายกับท่าน
ถามท่านว่าเคยเจ็บไข้หรือเปล่า ท่านตอบว่าหลายสิบปีมาแล้วไม่เคยเจ็บไข้มาเลย
ท่านกล่าวว่าตอนที่อายุ 20ปี กระเพาะอาหารเป็นแผลเน่าเรื้อรังนอนอยู่กับที่นานถึง 10 ปี
ได้ผ่านการตรวจจากนายแพทย์ 5 ท่าน รักษาฉีดยา รับประทานยา ไม่ได้ผล ต่อมามีนายแพทย์ท่านหนึ่ง
ได้แนะนำว่าคุณควรทดลองดื่มน้ำสุกอย่างนี้ ตื่นแต่เช้าหน้าไม่ล้าง ปากไม่บ้วน ดื่มน้ำสุก 5 แก้วทุกๆ วัน
อย่าให้ขาดตอน และห้ามไม่ให้รับประทานอาหารก่อนเข้านอน นายแพทย์สั่งเสร็จก็กลับไปโดยไม่ให้ยาไปกิน
วันรุ่งขึ้นผมก็ทำตามนายแพทย์สั่ง ดื่มน้ำ 5 แก้วรวดเดียว ในหนึ่งชั่วโมงปัสสาวะ 3 ครั้ง
หลังจากนั้นก็รับประทานข้าวต้ม รู้สึกรสชาติของข้าวต้มอร่อยกว่าที่แล้วๆ มาวันที่สองดื่มน้ำ 5 แก้วอีก
ถ่ายอุจจาระออกมามีเลือดดำปนอยู่มากต่อจากนั้นสามเดือนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 10 ก.ก.
เวลานี้ผมอายุ 64 ปีแล้ว นับแต่ได้ปฏิบัติดื่มน้ำมายังไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเลย แม้แต่หวัดก็ไม่เคยเป็น
2 เมื่อผมยังเป็นเด็กเคยเป็นเยื่อสมองอักเสบ นายแพทย์สั่งให้ดื่มน้ำ 5 แก้วทุกวัน
ไม่นานเยื่อสมองที่อักเสบก็หายไปเอง ภรรยาผมเมื่อ 10 ปีก่อนเป็นโรคหัวใจและเป็นโรคอ้วนเกินไป
ร่างกายสูงไม่เกิน 5 ฟุต น้ำหนักตัว 120 ก.ก. พอดื่มน้ำได้ 15 วัน โรคหัวใจ โรคประสาท
โรคเข็ดเมื่อยก็ค่อยๆ ดีขึ้น ดื่มน้ำได้สองเดือนน้ำหนักตัวลดลงไป 16 ก.ก.
เมื่อก่อนเราต้องใช้ยาประจำ นวดไฟฟ้า และรักษาด้วยวิธีเข็มแทงแบบหมอจีนก็ไม่หาย
แต่เวลานี้หายไปหมดแล้วจากการดื่มน้ำ
3. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเคยแถลงการณ์ร่วมสองครั้ง เกี่ยวกับฝอยคล้ายสักหลาดในลำไส้ผลิตโลหิตขึ้น
จนเดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครโต้แย้งเลย ไม่ว่าโลหิตจะมาจากไหน แต่ธาตุต่างๆ
จะต้องมาจากอาหารอย่างแน่นอน เมื่ออาหารลงไปถึงกระเพาะแล้วผ่านการย่อยลงไปสู่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก
ธาตุส่วนมากกลายเป็นของเหลว เมื่อลำไส้ยาว 8 เมตร ดูดธาตุต่างๆ เสร็จ
ก็จะส่งไปสู่ลำไส้ออกของที่ทวารหนักซึ่งเป็นของที่ไม่มีประโยชน์สำหรับร่างกาย
4. กระเพาะเป็นแผลเน่า ดื่มน้ำ 1 สัปดาห์ก็เห็นผล โรคความดันโลหิตสูง ดื่มน้ำ 1 เดือนเริ่มเห็นผล
กระเพาะบิด 3 เดือนเริ่มเห็นผล ท้องผูก 3 วันก็เห็นผล ท้องเป็นบิดกับปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ
ดื่มน้ำ 1 สัปดาห์ก็เห็นผล เข็ดเมื่อยตามข้อ 3 เดือนเห็นผล ผู้สูงอายุเข็ดเมื่อยทั้งร่างกาย
ดื่มน้ำ 2 เดือน เห็นผล โดยเฉพาะผู้ที่โลหิตคั่งอยู่ในสมอง เกิดเป็นลมขึ้นเป็นมายังไม่เกิน 3 เดือน
ดื่มน้ำเพียงสัปดาห์เดียวก็หายเหมือนเดิม รับรองไม่พิการหรือเป็นอัมพาต
ผู้ที่ดื่มน้ำควรทราบ ดื่มน้ำสุกดีที่สุด หากดื่มน้ำประปา ควรจะใส่ขวดไว้แรมคืนให้ตกตะกอนเสียก่อน
เพื่อป้องกันท้องร่วง เวลารับประทานอาหารดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่หลังอาหารสองชั่วโมงไม่ควรดื่มอีก
ก่อนเข้านอนไม่ควรรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามรับประทานน้ำส้มคั้น และจำพวกแอปเปิ้ล
ผู้ที่มีโรคประจำตัวดื่มน้ำทีเดียว 5 แก้วไม่ใช่ของง่าย ดื่มน้ำเสร็จทางที่ดีใช้หรือออกกำลังสัก 20นาที
คนไข้ที่นอนอยู่บนเตียงไม่สามารถลุกขึ้นได้ ดื่มน้ำเสร็จให้สูดอากาศเข้าปอดให้มากๆ
และนวดที่บริเวณที่สะเอวให้น้ำไหลลงสู่ลำไส้ให้สะอาด ดื่มน้ำวันแรกภายใน 1 ชั่วโมง จะปัสสาวะ 3 ครั้งติดๆ กัน
แต่ต่อไป 3 - 4 วัน การถ่ายท้องจะเป็นปกติภายใน 7 - 8 วัน การปัสสาวะเป็นเพียงครั้งเดียว
นับแค่นั้นไปจะรู้สึกร่างกายสบาย เวลารับประทานอาหารจะรู้สึกอร่อยเป็นพิเศษ
นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่ากระเพาะลำไส้ได้ถูกชำระสะอาดแล้ว ผู้ที่หมดหวังแล้วจะรอดตายด้วยวิธีดื่มน้ำรักษาโรคต่างๆ นี้
จึงเขียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน ขอให้ทุกท่านจงปราศจากการไข้และป่วยต่างๆ
1. ผู้เขียนได้พบกับผู้ชราที่มีสุขภาพอย่างสมบูรณ์ ได้ทักทายกับท่าน
ถามท่านว่าเคยเจ็บไข้หรือเปล่า ท่านตอบว่าหลายสิบปีมาแล้วไม่เคยเจ็บไข้มาเลย
ท่านกล่าวว่าตอนที่อายุ 20ปี กระเพาะอาหารเป็นแผลเน่าเรื้อรังนอนอยู่กับที่นานถึง 10 ปี
ได้ผ่านการตรวจจากนายแพทย์ 5 ท่าน รักษาฉีดยา รับประทานยา ไม่ได้ผล ต่อมามีนายแพทย์ท่านหนึ่ง
ได้แนะนำว่าคุณควรทดลองดื่มน้ำสุกอย่างนี้ ตื่นแต่เช้าหน้าไม่ล้าง ปากไม่บ้วน ดื่มน้ำสุก 5 แก้วทุกๆ วัน
อย่าให้ขาดตอน และห้ามไม่ให้รับประทานอาหารก่อนเข้านอน นายแพทย์สั่งเสร็จก็กลับไปโดยไม่ให้ยาไปกิน
วันรุ่งขึ้นผมก็ทำตามนายแพทย์สั่ง ดื่มน้ำ 5 แก้วรวดเดียว ในหนึ่งชั่วโมงปัสสาวะ 3 ครั้ง
หลังจากนั้นก็รับประทานข้าวต้ม รู้สึกรสชาติของข้าวต้มอร่อยกว่าที่แล้วๆ มาวันที่สองดื่มน้ำ 5 แก้วอีก
ถ่ายอุจจาระออกมามีเลือดดำปนอยู่มากต่อจากนั้นสามเดือนน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 10 ก.ก.
เวลานี้ผมอายุ 64 ปีแล้ว นับแต่ได้ปฏิบัติดื่มน้ำมายังไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเลย แม้แต่หวัดก็ไม่เคยเป็น
2 เมื่อผมยังเป็นเด็กเคยเป็นเยื่อสมองอักเสบ นายแพทย์สั่งให้ดื่มน้ำ 5 แก้วทุกวัน
ไม่นานเยื่อสมองที่อักเสบก็หายไปเอง ภรรยาผมเมื่อ 10 ปีก่อนเป็นโรคหัวใจและเป็นโรคอ้วนเกินไป
ร่างกายสูงไม่เกิน 5 ฟุต น้ำหนักตัว 120 ก.ก. พอดื่มน้ำได้ 15 วัน โรคหัวใจ โรคประสาท
โรคเข็ดเมื่อยก็ค่อยๆ ดีขึ้น ดื่มน้ำได้สองเดือนน้ำหนักตัวลดลงไป 16 ก.ก.
เมื่อก่อนเราต้องใช้ยาประจำ นวดไฟฟ้า และรักษาด้วยวิธีเข็มแทงแบบหมอจีนก็ไม่หาย
แต่เวลานี้หายไปหมดแล้วจากการดื่มน้ำ
3. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเคยแถลงการณ์ร่วมสองครั้ง เกี่ยวกับฝอยคล้ายสักหลาดในลำไส้ผลิตโลหิตขึ้น
จนเดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครโต้แย้งเลย ไม่ว่าโลหิตจะมาจากไหน แต่ธาตุต่างๆ
จะต้องมาจากอาหารอย่างแน่นอน เมื่ออาหารลงไปถึงกระเพาะแล้วผ่านการย่อยลงไปสู่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก
ธาตุส่วนมากกลายเป็นของเหลว เมื่อลำไส้ยาว 8 เมตร ดูดธาตุต่างๆ เสร็จ
ก็จะส่งไปสู่ลำไส้ออกของที่ทวารหนักซึ่งเป็นของที่ไม่มีประโยชน์สำหรับร่างกาย
4. กระเพาะเป็นแผลเน่า ดื่มน้ำ 1 สัปดาห์ก็เห็นผล โรคความดันโลหิตสูง ดื่มน้ำ 1 เดือนเริ่มเห็นผล
กระเพาะบิด 3 เดือนเริ่มเห็นผล ท้องผูก 3 วันก็เห็นผล ท้องเป็นบิดกับปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ
ดื่มน้ำ 1 สัปดาห์ก็เห็นผล เข็ดเมื่อยตามข้อ 3 เดือนเห็นผล ผู้สูงอายุเข็ดเมื่อยทั้งร่างกาย
ดื่มน้ำ 2 เดือน เห็นผล โดยเฉพาะผู้ที่โลหิตคั่งอยู่ในสมอง เกิดเป็นลมขึ้นเป็นมายังไม่เกิน 3 เดือน
ดื่มน้ำเพียงสัปดาห์เดียวก็หายเหมือนเดิม รับรองไม่พิการหรือเป็นอัมพาต
ผู้ที่ดื่มน้ำควรทราบ ดื่มน้ำสุกดีที่สุด หากดื่มน้ำประปา ควรจะใส่ขวดไว้แรมคืนให้ตกตะกอนเสียก่อน
เพื่อป้องกันท้องร่วง เวลารับประทานอาหารดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่หลังอาหารสองชั่วโมงไม่ควรดื่มอีก
ก่อนเข้านอนไม่ควรรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามรับประทานน้ำส้มคั้น และจำพวกแอปเปิ้ล
ผู้ที่มีโรคประจำตัวดื่มน้ำทีเดียว 5 แก้วไม่ใช่ของง่าย ดื่มน้ำเสร็จทางที่ดีใช้หรือออกกำลังสัก 20นาที
คนไข้ที่นอนอยู่บนเตียงไม่สามารถลุกขึ้นได้ ดื่มน้ำเสร็จให้สูดอากาศเข้าปอดให้มากๆ
และนวดที่บริเวณที่สะเอวให้น้ำไหลลงสู่ลำไส้ให้สะอาด ดื่มน้ำวันแรกภายใน 1 ชั่วโมง จะปัสสาวะ 3 ครั้งติดๆ กัน
แต่ต่อไป 3 - 4 วัน การถ่ายท้องจะเป็นปกติภายใน 7 - 8 วัน การปัสสาวะเป็นเพียงครั้งเดียว
นับแค่นั้นไปจะรู้สึกร่างกายสบาย เวลารับประทานอาหารจะรู้สึกอร่อยเป็นพิเศษ
นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่ากระเพาะลำไส้ได้ถูกชำระสะอาดแล้ว ผู้ที่หมดหวังแล้วจะรอดตายด้วยวิธีดื่มน้ำรักษาโรคต่างๆ นี้
จึงเขียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน ขอให้ทุกท่านจงปราศจากการไข้และป่วยต่างๆ
รักษาโรค ด้วยวิธีดื่มน้ำ
เขียนโดย
Social Media News
on วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
ดื่มน้ำ รักษาโรค
/
Comments: (0)
วารสารทางการแพทย์ บอกว่าเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ความเข้มของโลหิตยังสูงและมีผลต่อระบบ ความดันโลหิตในร่างกาย
แพทย์แนะนำว่าทันทีที่ตื่นนอนให้ดื่มน้ำทันทีหนึ่งแก้ว เพื่อลดความเข้มของโลหิต พวกเราลองดูละกัน อีกอย่างที่พบมาก็คือ
ท่านพุทธทาสก็ทำแบบนี้เหมือนกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนมากมายส่งเสริมวิธีดื่มน้ำ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์ นี่เป็นแบบนิยมอันดีงามอย่างหนึ่ง
ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้นอกจากอากาศที่บริสุทธิ์ก็คือน้ำ
น้ำหนักตัวของคนเรา 2 ใน 3 ส่วนเป็นน้ำจึงมีคนว่าคนประกอบด้วยน้ำ
อันที่จริงน้ำสามารถปรับอุณหภูมิในร่างกายของคนได้ สามารถทำให้ไตทำงาน
เป็นปกติขับถ่ายสิ่งโสโครกให้ออกจากร่างกายได้
นายแพทย์แนะนำบ่อยๆ ว่าดื่มน้ำให้มากทุกๆ วัน วิธีดื่มน้ำรักษาโรคต่างๆ
ตามที่ได้ทดสอบมาแล้วได้ผลดี
- ตื่นเช้าลุกขึ้น ไม่ล้างหน้า ไม่บ้วนปาก แล้วดื่มน้ำสุก 5 แก้ว (ขวดวิสกี้บรรจุได้ 3 แก้ว)
- หรือน้ำหนักของน้ำ 1.26 ก.ก.เท่ากับ 5 แก้วรวดเดียว จะรู้สึกหายใจเหนื่อยอึดอัดไปหน่อย
- หลังจากนั้นจะปัสสาวะบ่อยๆ
การปฏิบัติยากลำบากเช่นนี้ หากผู้ที่ไม่มีความเชื่อมั่นอาจจะเลิกเสียกลางคัน
ผู้ที่ใช้สมองทั้งวันทั้งคืนในธุรกิจการค้า หาเวลาว่างไปออกกำลังมิได้ทุกเช้าควรปฏิบัติดื่มน้ำ
รักษาโรคแทนการออกกำลังกาย
เชื่อมั่นได้ว่าจะต้องปราศจากโรค ชีวิตยั่งยืนอย่างไม่ต้องสงสัย
ในระยะนี้มีผู้ใจบุญพิมพ์คำอธิบายวิธีดื่มน้ำรักษาโรคต่างๆ ส่งไปให้เพื่อนฝูง
เพื่อนที่ได้รับรู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งการที่ช่วยซึ่งกันและกันแบบนี้ ควรจะเผยแพร่ให้มากขึ้น
ผู้เขียนยินดีให้ "วิธีดื่มน้ำรักษาโรคของจีนนี้เปิดเผยให้ผู้อ่านได้มีโอกาสค้นคว้าและทดลอง"
ได้เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ แต่ความเป็นจริงได้ผลอย่างนี้แน่นอนเนื่องจากทำให้ลำไส้ให¬ญ่ผลิตโลหิตใหม่มากขึ้น
ซึ่งโลหิตใหม่นี้ผลิตขึ้นจากฝอยคล้ายสักหลาดที่อยู่ในลำไส้ให¬ญ่ซึ่งทำหน้าที่ดูดธาตุอาหารต่างๆ ผลิตให้เป็นเม็ดโลหิต
เนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้โลหิตจาง
มีอาการรู้สึกเพลียและเป็นโรค เป็นการรักษายาก
ลำไส้ของใหญ่¬่ยาว 8 เมตร ทำหน้าที่ดูดธาตุต่างๆ จากอาหาร
ถ้าลำไส้สะอาดอาหารที่ได้รับประทานเข้าไป
ผ่านการย่อยแล้วดูดไปผลิตให้เป็นโลหิตใหม่เป็นการเร่งให้เกิดพลังงานในร่างกายให้สมบูรณ์ขึ้น
โรคต่างๆ จะหายไปเองอายุก็ยั่งยืน มหาวิทยาลัยตามมณฑลต่างๆ ในประเทศจีนได้ผ่านการทดลอง
และประกาศเปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน
รักษาโรค ด้วย สมุนไพรไทย
เขียนโดย
Social Media News
ป้ายกำกับ:
รักษาโรคด้วยสมุนไพร,
สมุนไพรไทย
/
Comments: (0)
รักษาโรค ด้วย สมุนไพรไทย
รูปแบบการใช้สมุนไพรแบบดั้งเดิมในการรักษาโรค ถือเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่า
และเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมและถ่ายทอดจากบรรพชนไทย
การผสมผสานชิ้นส่วนพืชชนิดต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ
โดยการดัดแปลงวิธีการเตรียม วิธีการใช้ การปรุง ให้มีความกลมกลืนทั้งรสชาติ สี กลิ่น
จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและนำไปใช้แตกต่างกันไป ตามความแปรปรวนของฤดูกาล สภาพภูมิประเทศ
รวมทั้งพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่แตกต่างกันด้วย
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคได้ใช้สืบทอดกันไป จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งสืบทอดกันไปเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นตำรับยาขนานต่างๆ กัน ตารางที่ 2.3 ได้แสดงภูมิปัญญาชาวบ้านบางส่วนที่ได้นำส่วนของสมุนไพรชนิดต่างๆ
ไปใช้ในการรักษาโรคตามที่ปรากฏจากแหล่งข้อมูลในตารางที่ 2.4
ดังนั้นการพัฒนาการใช้สมุนไพรในปัจจุบัน
จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตและการปลูกเป็นการค้า
การศึกษาผลทางเภสัชกรรม
สารออกฤทธิ์หรือตัวยาในการรักษาโรคของสมุนไพรชนิดต่างๆ ควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลการใช้สมุนไพรไทยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ประโยชน์ของสมุนไพรในการรักษาโรคให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
อันจะเป็นการลดการนำเข้ายาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีจากต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก
รูปแบบการใช้สมุนไพรแบบดั้งเดิมในการรักษาโรค ถือเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่า
และเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมและถ่ายทอดจากบรรพชนไทย
การผสมผสานชิ้นส่วนพืชชนิดต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ
โดยการดัดแปลงวิธีการเตรียม วิธีการใช้ การปรุง ให้มีความกลมกลืนทั้งรสชาติ สี กลิ่น
จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและนำไปใช้แตกต่างกันไป ตามความแปรปรวนของฤดูกาล สภาพภูมิประเทศ
รวมทั้งพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่แตกต่างกันด้วย
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคได้ใช้สืบทอดกันไป จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งสืบทอดกันไปเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นตำรับยาขนานต่างๆ กัน ตารางที่ 2.3 ได้แสดงภูมิปัญญาชาวบ้านบางส่วนที่ได้นำส่วนของสมุนไพรชนิดต่างๆ
ไปใช้ในการรักษาโรคตามที่ปรากฏจากแหล่งข้อมูลในตารางที่ 2.4
ดังนั้นการพัฒนาการใช้สมุนไพรในปัจจุบัน
จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตและการปลูกเป็นการค้า
การศึกษาผลทางเภสัชกรรม
สารออกฤทธิ์หรือตัวยาในการรักษาโรคของสมุนไพรชนิดต่างๆ ควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลการใช้สมุนไพรไทยจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ประโยชน์ของสมุนไพรในการรักษาโรคให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
อันจะเป็นการลดการนำเข้ายาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีจากต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีมีมูลค่าสูงมาก