การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา (Nonphamacologic Treatment)
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยาไม่ใช่จะก่อให้เกิด ความปลอดภัยเสมอไป
ในภายหน้าการรักษาด้วยยา
อาจเป็นเพียงการเยียวยาและ ปกติต้องรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยาโดยเฉพาะ ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ได้รับคำรับรองแล้ว ได้แก่
การลดน้ำหนัก
จำกัดโซเดียม
ปริมาณแอลกอฮอล์ที่เหมาะสม
การออกกำลังกายแบบ isotonic
และการรักษาความเครียด
คณะกรรมการค้นหา ประเมินผล และรักษาโรคความดันโลหิตสูง ได้เสนอแนะดังนี้
1. ลดน้ำหนักลง 15% ของน้ำหนักที่พึงปรารถนา (desirable weight)
2. จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 ออนซ์ต่อวัน (วิสกี้ 2 ออนซ์ ไวน์ 8 ออนซ์ หรือเบียร์ 24 ออนซ์ )
3. จำกัดโซเดียม 1.5 ถึง 2.5 กรัม/วัน (เกลือ 4 ถึง 6 กรัม)
.1 การลดน้ำหนัก (Weight Management) ประสิทธิภาพของการลดน้ำหนักได้ผลดีในกลุ่ม
mild และ severe hypertension น้ำหนักที่ลดลงเป็นผลมาจากการจำกัดพลังงาน
ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเมตาบอลิสม เช่น ลดการทำงานของ SNS
ที่มีบทบาทสำคัญในระบบความดันโลหิต
เป้าหมายในเรื่องนี้ก็คือบุคคลที่มีประวัติในครอบครัว ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง
ควรจะลดน้ำหนักลง 15%
จากรายงานของ McCaron และ Reusser ได้กล่าวว่าในคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระยะก้ำกึ่ง
ถ้าลดน้ำหนัก 4 - 5 กก. มีผลทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงเป็นปกติภายใน 2 - 3 อาทิตย์แรก
ความดันโลหิตลดลง
ในกลุ่มที่ลดน้ำหนักไม่เกี่ยวข้องกับสารอาหารที่บริโภค แต่มีความเกี่ยวข้องกับพลังงานที่ใช้ในช่วงที่
พยายามลดน้ำหนัก ในคนที่มีน้ำหนักเกินนั้นการที่ระดับความดันโลหิตลดลง
ปรากฎร่วมกับน้ำหนักที่หายไปอาจเกิดจากการ ดูแลให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
(regular exercies regimen)
2 การจำกัดโซเดียม (Sodium Restriction) การจำกัดโซเดียมเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ประมาณหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่ง ที่เป็นพวก salt-sensitive จึงเป็นข้อจำกัดหนึ่งในการดูแลรักษา
เป็นการยากที่จะทำนายว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะตอบสนอง ต่อการจำกัดโซเดียม ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่จำกัดโซเดียมแล้วความดันโลหิตไม่ได้ลดลง
Levey และคณะ ศึกษาระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยการให้โซเดียมต่ำ
ร่วมกับการให้แคลเซียมที่แตกต่างกัน การศึกษาเป็นแบบการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นชายผิวขาวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่สูบบุหรี่ มีอาชีพทำงานประเภทนั่งโต๊ะ ทำการทดลองเป็น 2 ช่วง (ช่วงละ 6 สัปดาห์) ช่วงแรกให้ high
calcium (1,400 มก/วัน) ช่วงหลังให้ low calicium (400 มก/วัน) ทั้ง 2 ช่วงได้รับโซเดียม 1,500
มก/วัน หลังจากนั้นมีการวัดความดันโลหิต ปัสสาวะ blood electrolyte, calcitrol, renin และระดับ
parathyroid hormone (PTH) ผลจากการทดลองพบว่าโซเดียมในซีรัมลดลง โซเดียมในปัสสาวะลดลง
ในช่วงได้รับ low calcium ระดับ PTH ลดลงในช่วงได้รับ high calcium และเพิ่มในช่วงได้รับ low
calcium ทั้ง 2 ช่วง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับ calcitriol ในช่วงได้รับ low calcium
ความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงร้อยละ 8 และ 9 ตามลำดับ ในขณะที่ช่วง ได้รับ high calcium
ความดันซิสโตลิกและไดแอสโตลิกลดลงร้อยละ 2 และ 3 ตามลำดับ
ผลการศึกษาแสดงเห็นว่ามีความสัมพันธ์ทางลบระหว่าง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของ Na :Ca กับการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ผู้วิจัยเสนอแนะว่าทางด้าน dietary management
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงการบริโภค เช่น ให้โซเดียม 1,000 มก/วัน
และเพิ่มแคลเซียม 400 มก/วัน มากกว่าที่จะสนใจเฉพาะระดับของโซเดียมและแคลเซียมแต่เพียงอย่างเดียว
การศึกษาโดยโซเดียมคงที่แต่มีการเปลี่ยนปริมาณแคลเซียม ทำให้ดูผลเหมือนแคลเซียมต่ำจะดีกว่าแคลเซียม
สูง ในการลดความดันโลหิต ผู้ศึกษาควรจะเปลี่ยนแปลงปริมาณทั้งโซเดียมและแคลเซียม เพื่อให้เกิดอัตรา
ส่วนที่คล้ายกับทั้งสองอัตราส่วน จากนั้นจึงดูว่าระดับความดันโลหิตเป็นอย่างไร
ที่มา การรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา - การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา
การรักษา โรคความดันโลหิตสูง โดยไม่ใช้ยา
เขียนโดย
Social Media News
on วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ:
ความดันโลหิตสูง
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณ
แสดงความคิดเห็น